วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (6/12/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพค่ะ วันนี้เปิดเทอมวันแรก เพื่อนๆมาเรียนกันค่อนข้างเยอะในวันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การบูรณการ การบูรณการจะรวมกันเป็นเนื้อเดียว เช่น การเจียวไข่ เราไม่สามารถแยกส่วนผสมออกจากกันได้ และการบูรณาการแบบนำสิ่งของหลายอย่างมารวมกันและสามารถสิ่งของได้ เช่น การตำส้มตำ......วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม 6 คน และก็ได้บอกถึงการจัดห้องเรียนว่าต้องจัดให้มีช่องว่าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในชั้นเรียนและอาจารย์ก็สั่งงานให้กลับไปทำ

**** งานในสัปดาห์นี้
- หารายชื่อหนังสือคณิตในห้องสมุดมาให้ได้มากที่สุด
- หามาตราฐานทางคณิตศาสตร์อายุ 3-6 ขวบ


****มาตราฐานคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คุณภาพทางคณิต ศาสตร์ของ เด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนา การด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้ให้แนวทางการพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
พัฒนาการทางคณิตศาสตร์
ขั้นที่ 1 (2-3 ปี) เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนเมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังผู้อื่นใช้ หรือเริ่มเข้าใจจำนวนจากการมีโอกาสเล่น จับต้องวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ด้วยตนเอง หรือเล่นต่อภาพที่ชิ้นส่วนของภาพมีขนาดใหญ่ เริ่มรู้จักรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปทรงกลม
ขั้นที่ 2 (3-4 ปี) รู้จักปริมาณมาก มากกว่า เริ่มคุ้นเคยกับรูปทรงเรขาคณิตของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก รู้จักจัดกลุ่มสิ่งของตามคุณลักษณะต่าง ๆ รู้จักนับ 1-5 เปรียบเทียบความเหมือนความต่างหรือใช้คำอธิบายปริมาณ ความยาว ขนาด
ขั้นที่ 3 (4-5 ปี) เข้าใจและเล่นเกมที่เกี่ยวกับจำนวน นับสิ่งของ 1-10 และบางครั้งถึง 20 จัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ ตามรูปทรงเปรียบเทียบขนาดของสิ่งต่าง ๆ
ขั้นที่ 4 (5-6 ปี) เริ่มเข้าใจความคิดรวบยอดในรูปของสัญลักษณ์ นับสิ่งของจำนวน 20 และอาจมากกว่านี้ จำแนกสิ่งของตามคุณลักษณะได้มากกว่า 2 คุณลักษณะ
(สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2547 : 133)