วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (11/03/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนนะค่ะ สำหรับในวันนี้อากาศดีคะ เพราะฝนพึ่งหยุดตก เป็นวันที่อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตาราง เวลา 09.00 - 12.00 น.และวันนี้ดิฉันนั่งสอบสอนกับเพื่อนจนถึงเวลา 17.40 น. วันนี้ดิฉันมาสายเล็กน้อย อาจารย์ก็ให้เพื่อนๆในห้องตกลงกันเอาเองว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อน - หลัง จากนั้นเมื่อพร้อมอาจารย์จึงเริ่มสอบสอนแต่ละกลุ่มและสอนทุกคน ดิฉนสอนหน่วย ผักบุ้งตาหนวน
ในวันนี้ส่วนใหญ่ ขั้นนำ ของเพื่อนๆจะเป็นคำคล้องจอง อาจารย์ชี้แจงข้อบกพร่องดังนี้
1. เพื่อนๆเขียนด้วยลายมือที่ไม่บรรจง อาจารย์จึงให้เขียนให้ตัวบรรจง
2. เพื่อนบางคนเขียนไม่แยกคำ อาจารย์ให้แยกคำ
3. เพื่อนบางคนไม่มีรูปภาพ ให้คำคล้องจ้อง ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด

ขั้นสอน ส่วนใหญ่เพื่อนๆจะเขียนให้เด็กดู อาจารย์จึงแนะนำดังนี้
1. ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้

ขั้นสรุป ส่วนใหญ่เพื่อนๆก็จะเขียนเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์ก็ได้แนะนำเหมือนขั้นสอน

ส่วนของดิฉัน ขั้นนำ ดีแล้ว แต่ขั้นสอนของดิฉัน อาจารย์ได้แนะนำว่า เราไม่ต้องปลูกผักให้เด็กดูในวันนี้เลยก็ได้ เพราะประเด็นหลักคือประโยชย์ของผักบุ้ง แต่ดิฉันอธิบายประโยชน์ของผักบุ้งน้อยเกินไป อาจารย์ให้คำแนะนำในการถามมีดังนี้ ( มีภาพอาชีพ ,ภาพคนสายตาดีและสวย มาให้เด็กดูพร้อมอธิบายภาพและประโยชน์ของผักบุ้ง
1. เด็กรู้ไหมคะว่าผักบ้งมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร (เด็กตอบมา) เราเสริม เช่น ผักบุ้งเมื่อรับประทานไปแล้วจะเป็นกากอาหารช่วยในระบบขับถ่าย
2. เด็กรู้ไหมคะว่าเราทำอย่างไรถึงจะสายตาดีและสวย (เด็กตอบ) เราเสริม เช่น เราต้องรับประทานผักบุ้ง เพราะในผักบุ้งมีวิตามิน
3. เด็กๆทราบไหมคะ ว่าในผักบุ้งมีวิตามินอะไร (เด็กตอบ) เราเสริม ในผักบุ้งมีวิตามิน A ช่วยบำรุ้งสายตา
และเราก็ถามในแบบคล้ายกันเกี่ยวกับอาชีพที่นำผักบุ้งมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างรายได้ และเราควรนำผักบุ้งจริงๆมาให้เด็กๆดูด้วย
ขั้นสรุป อาจารย์ให้ใช้คำถาม ถามทบทวนเนื้อหา และนับภาพที่ติดเป็น map และนำเขียนเลขให้เด็กดู


เทคนิคที่ได้จากการสอนครั้งนี้
1. เขียนให้ตัวบรรจง
2. ให้แยกคำให้ชัดเจน
3. ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด
4. ไม่ควรเขียน ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้
5. ใช้คำถามเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิม
6. การวางของ ควรวางจากซ้ายมือเด็กไป ขวามือเด็ก
7. การนับให้นับตามเข็มนาฬิกา และนับจากซ้ายไปขวามือของเด็ก

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (6/03/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน ในวันนี้อากาศร้อนนิดหน่อย ในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอนในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น. อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนว่าตรงตามมาตรฐานหรือเปล่า
2. การสอน
- การบูรนาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
อาจารย์ได้ตรวจการเขียนคำคล้องจองของเพื่อนเป็นบางคน และให้คำแนะนำ ของดิฉันดีอยู่แล้ว แต่มีข้อบกพร่องนิดหน่อยคือ ต้องเขียนแยกเป็นคำๆเพื่อให้เด็กๆเห็นว่า คำไหนอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ดิฉันยกตัวอย่างของดิฉัน เช่น
เต่าน้อย นั้น ถือ ถุง มา กระต่าย ถาม ว่า นั่น ถุง อะไร
ถุงผัก ฉัน เอา มา ขาย มี ผัก มากมาย น่าลิ้ม น่าลอง เป็นต้น
อาจารย์ได้บอกเทคนิคการสอนว่า ในวันที่เราได้ออกไปสอนเด็กจริงๆ เด็กจะรอดูว่าคุณครูของเขาจะมีอะไรมาสอน เช่นทุกๆวันครูร้องเพลง แล้วให้เด็กจับหัว แต่วันนี้ครูร้องแล้วให้เด็กจับ ขา แขน เด็กๆก็จะตื่นตัวและรอดูว่าครูจะให้จับอะไรอีก และเราก็สามารถเก็บเด็กอยู่ ก่อนหมดชั่วโมงอาจารย์นำแผนการสอนของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นแผนการสอนแบบโปรเจ็ท อาจารย์บอกว่าคณิตศาสตร์คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวๆและเป็นสากล (ไม่ว่าประเทศไหนๆก็บวก ลบ คคูณ หาร ด้วยวิธีเดียวกัน) และเราควรตั้งคำถามถามเด็กเพื่อทำให้เรารู้ว่าเราจะสอนอะไรทำให้เรารู้ถึงประเด็นที่เราจะสอน และการที่เราถามเด็กไปนั้นจะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์สำคัญ และในวันนี้อาจารย์ได้ปล่อยเร็วเนื่องจากมีเพื่อนรถล้มก่อนมาเรียน และอาจารย์เป็นห่วงจึงปล่อยเร็วก่อนครึ่งชั่วโมง เพื่อให้เพื่อนกลับบ้านและจะได้มีเพื่อนๆเดินไปเป็นเพื่อน


**** สอบสอนในวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (28/02/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้อากาศร้อนและอาจารย์ให้พนักงานซ่อมโปรเจ๊กเตอร์ ไม่ค่อยสะดวกเท่าไรแต่อาจารย์ก็สอนด้วยความเต็มใจถึงเมื่อว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ค่อยเป็นใจ อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาท,เวลา
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 กลุ่ม เช่น เปรียบจำนวนของสิ่งของ
เรขาคณิต ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทาง เช่น ข้างๆ ริมๆ
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
การจับคู่ คำว่าคู่เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
การจำแนก การจัดหมวดหมู่ ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่นงานประดิษฐ์ ต้องเป็นโครงสร้าง 3 ส่วน
พีชคณิต คือ รูปแบบและความสัมพันธ์(ความสัมพันธ์ คือ จุดตัด เช่นความสัมพันธ์ 2 แกน)
ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม (มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1) แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2) แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3) แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น
จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน
การตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย


***** อาจารย์นัดในวันศุกร์ เวลา 13.00 น. เพื่อดูแผนให้สอดคล้องกับมาตรฐาน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (21/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ วันนี้อากาศที่ห้องหนาวมากดิฉันจึงไม่กล้าถอดเสื้อกันหนาวเลย ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มตามหน่วยที่เขียนแผน และมีเพื่อนอีก 2 กลุ่มที่ต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์ และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆเป็นรายกลุ่มและเป็นรายบุคคล จึงใช้เวลานานในการอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือเขียนสื่อที่จะต้องใช้ในการสอน กลุ่มของดิฉันมีสื่อดังนี้
1) กระดาษชาร์ต 3 แผ่น
2) กระถางปลูกผักบุ้ง
3) เมล็ดผักบุ้ง

ท้ายคาบอาจารย์ตรวจสื่อที่ต้องใช้และสิ่งไหนที่เราสามารถนำมาเองได้อาจารย์ก็ให้เราเอามาและบางสิ่งอาจารย์จะนำมาให้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (14/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนวันนี้อากาศเย็นสบายแต่ก็มีร้อนนิดๆ วันนี้อาจารย์อบรมเรื่องเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีเพราะมีคนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม และให้แก้ไขบล็อกให้เสร็จทุกคน จากนั้นอาจารย์ตรวจแผนของแต่ละกลุม่แต่ทั้งห้องก็มีข้อบกพร่อง เพราะแต่ละกลุ่มทำแต่ของตนเองไม่สนใจเพื่อนในกลุ่มจึงทำให้แผนไม่ค่อยสอดคล้องกัน อาจารย์จึงย้อนถามถึง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อหลักอยู่ 3 ข้อ คือ ประสบการณ์, คณิตศาสตร์,เด็กปฐมวัย เราต้องแยกย่อยออกมาให้เห็นรายละเอียดแล้วเราค่อยมาสรุปรวมอีกครั้ง และอาจารย์อธิบายการทำแผนใหม่ คือ
1.แผนที่เขียนแผ่นเก่า 1 แผ่น
2. แผนใหม่ที่ปรับปรุงและเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามความเข้าใจ 1 แผน
3.. ต้องมีการแตกหน่วยทั้งที่ปรับปรุงและแผนเดิม(ถ้ากลุ่มไหนนำไปปรับปรุง)
เมื่ออธิบายเสร็จอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มตามหน่วยที่เราเขียนแผนและอาจารย์ดูแผนตามกลุ่มและอธิบายรายบุคคล และชี้แนะต่างๆอาจารย์จะเน้นให้เขียนเป็น map ก่อนเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายการที่เราเขียน map เพื่อให้เห็นเนื้อเรื่องที่เราจะสอน เวลาเราจะเอาเนื้อหาไปสอนต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการ เราจึงเลือกนิทาน,เพลง,คำคล้องจองเพื่อให้สอดคล้องและเพื่อให้เด็กได้ตามพัฒนาการทั้ง4 ด้าน โดยผ่านกิกรรม
อาจารย์บอกกับเราว่าขณะเขียนเราเขียนแบบแห้งๆเพราะเรายังไม่มีประสบการณ์แต่เราจะได้หลักการในการเขียน และนำไปเรื่อยๆเราจะเกิดความชำนาญในการเขียนและเกิดการพัฒนาในตนเอง
หัวใจหลักของเสริมประสบการณ์ คือ เรื่องของสติปัญญาเป็นเนื้อหาในการเรียนรู้และมีสาระที่เสริมประสบการณ์อาจารย์อธิบายการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม อาจารย์ยกตัวอย่างของเพื่อนๆเรื่อง หน่วยฝน
1.วัตถุประสงค์
-เพื่อให้เด็กอธิบายการเกิดฝน
2. ประสบการณ์สำคัญ
-เด็กอธิบายการเกิดฝน
3. ขั้นนำ
-นำด้วยเพลง,คำคล้องจอง,นิทาน
4. ขั้นสอน
-ครูสนทนากับเด็กเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาให้ราบรื่น(ถ้าเป็นหรือคำคล้องจองให้พูดให้เด็กฟังอย่างชัดเจนก่อน แล้วให้เด็กพูดตาม แล้วเราค่อยใส่ทำนอง
- ถามเด็กๆว่าเด็กๆค่ะฝนเกิดจากไหนค่ะ
- นำภาพมาให้เด็กดู
5. ขั้นสรุป
-นำภาพมาให้เด็กเรียงลำดับการเกิดฝน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (7/02/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกๆคน วันนี้อากาศที่ห้องเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ถามถึงวันกีฬาสีในวันพรุ่งนี้ นักศึกษาและอาจารย์ปรึกษากันเรื่อง อาหารว่านักศึกต้องการอาหารในลักษณะไหน เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม่ ขั้นนำของอรอุมาเขียนแค่ว่าคำคล้องจ้องอาจารย์ให้หาเนื้อหาคำคล้องจองมาให้อาจารย์ดูด้วยแต่ถ้าหาไม่ได้ เราสามารถแต่งเองก็ได้ และคำคล้องจองต้องมีภาพให้เด็กดูจะเป็นผลดี เด็กจะได้ประสบการณ์จากการอ่าน คือ เด็กได้อ่านภาพ ภาพนั้นมีความหมายและแปลเป็นภาษาและของอรอุมาไม่จำเป็นต้องให้เด็กจำแนกสีก็ได้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ เช่น ทำงานศิลปะโดยใช้รูปร่างรูปทรง,ขนาด,การนับ อาจารย์ถามถึงมาตรฐานคณิตศาสตร์ว่ามีกี่ข่อมาตรฐานคณิตศาสตร์มี 6
การวัดต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือเด็กเป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่นใช้ร่างกายคือ มือ ชอก เป็นเครื่องมือแบบไม่เป็นทางกลาง และทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น คือ ตัดรูปมือให้มีขนาดเท่ากัน และจากนั้นก็ให้เด็กหัดใช้ไม้บรรทัดในการวัด
การตวง เครื่องแบบไม่เป็นทางการคือ มือ ถัดไปคือ ตาชั่ง 2 แขน และต่อไปคือตาชั่งกิโล
การวัดปริมาณ เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการคือหาพาชนะมาใช้ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดไปคือบิ๊กเกอร์
การวัดเวลา เครื่องมือไม่เป็นทางการคือ ดูพระอาทิตย์ ถัดไปดูเงา ถัดไปดู นาฬิกา
คณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้คือ
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ และเป็นทักษะการฟัง
2. ผู้นำผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่อง
4. ฟังและปฏิบัติตาม
5. ฝึกทักษะความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
อาจารย์พยายามจะบอกว่าเราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆได้มากมาย เราสามารถเอากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาเป็นขั้นนำสามารถเชื่องโยงคณิตศาสตร์ได้ เช่น ให้นับการกระโดดว่า กระโดดกี่ครั้ง หรือศิลปะ การร้อยเด็กได้นับจำนวน

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (31/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้บรรยากาศที่ห้องหนาวนิดหน่อย เพื่อนเลยขออาจารย์ปิดแอร์ วันนี้อาจารย์ได้อบรมการส่งงาน เพราะมีนักศึกษาทำมาไม่ครบและได้จดชื่อเอาไว้ อาจารย์ได้ถามว่า ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถาม ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจารย์ได้ขึ้นข้อความว่า ตัวเด็ก และได้ถามว่าเห็นบนกระดานแล้วนึกถึงอะไร นักศึกษาตอบมามากมายโดยไม่มีข้อผิด เพราะคำถามที่อาจารย์ใช้เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อเด็กจะได้คิดต่อได้ เช่น ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร ,เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง,เห็นเมื่อไร พอพูดถึงเมื่อไรมันเกี่ยวเนื่องกับคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องของเวลา และเพื่อฝึกให้เด็กคิด กล้าคิด กล้าตอบเพราะคำตอบที่ตอบมาไม่มีผิด และอาจารย์ได้ถามต่ออีกว่า ทำไม่จึงเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว
หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญา
ความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือเป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พิชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
- อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
เรื่อง การเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
-อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า
เรื่อง การเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
- อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (24/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้เป็นวันแรกของปีที่เราได้เจอกันในวิชานี้ วันนี้อาจารย์ติดธุระจึงเข้าห้องช้า อาจารย์เข้ามาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และได้ถามถึง จากการที่เราไปสังเกตเด็กในแต่ละโรงเรียนว่ามีปัญหาอะไรหาเปล่า แต่ละโรงเรียนก็ได้เล่าให้อาจารย์ฟังอย่างสนุกสนาน บางคนก็มีปัญหา อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์พูดถึงพัฒนาการของ ไวกอสกี่ และได้บอกว่านักศึกษาไม่ค่อยแน่นในวิชาการ อาจารย์จึงเน้นการสอนที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการใช้ชีวิต และอาจารย์บอกว่าในวันที่เราไปสังเกตเด็กเราควรเก็บตักตวงความรู้ให้มากที่สุด มีน้ำใจต่อครูพี่เลี้ยงและทุกๆคนในโรงเรียน และอาจารย์ให้มองหาปัญหาในโรงเรียนที่เราไปสังเกต เพื่อต่อยอดทำโครงการตอนเราไปฝึกสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างเด็กไม่ชอบกินผัก
1)ปัญหาที่เราพบเจอ
ส่วนมากเด็กไม่ชอบกินผักเพราะ ผักมีรสชาติขม มีกลิ่น เหม็นฉุน ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผักและไม่อยากที่จะกินผัก
2)เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
เราต้องใช้นิทานหรือเพลงเพื่อทำให้เห็นถึงประโยชน์ของผัก
3)ทำกิจกรรม
- สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
- ปลูกผักช่วยกัน
- นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
4) ย้ำเตือนให้เด็กรู้ว่าผักมีประโยชน์
- แสดงละครเกี่ยวกับ นิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
เมื่อคิดโครงการเสร็จแล้วนำไปลองใช้กับเด็ก และดูว่าก่อนทำโครงการ เด็กมีคนกินผักกี่คน และหลังจากนำโครงการไปใช้แล้วเด็กที่ไม่ชอบกินผักมีจำนวนลดลงกี่คน จากการที่เราทำโครงการระยะยาวแล้ว สามารถนำไปทำวิจัยในชั้นเรียนได้
จากที่เราไปสังเกตโรงเรียนนั้นมีสื่ออะไรที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง ห้องเรียนของดิฉันมีดังนี้
1) แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์
2) โปสเตอร์ เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก 1- 100
3) สถิติการมาเรียน
จากนั้นอาจารย์เชื่อมดยงเข้ามายังหน่วยที่ได้เขียนไป อาจารย์ให้ไปเขียนแผนการสอนมาเพิ่มเติมตามวันที่ตนเองได้รับผิดชอบมาคนละ 1 แผน และให้เตรียมสื่ออุปกรณ์มาให้เรียบร้อย ส่วนขั้นนำไม่ควรเป็นการสนทนาสักถามเราควรหา เพลง นิทาน คำคล้องจอง เพื่อให้มาความน่าสนใจ เราสามารถเปลี่ยนหน่วยหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
**** งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-เขียนชื่อจริง(ชื่อเล่น) ขนาด 38 Angsana new
-เขียนเลขที่ของตนเอง ขนาด 38 Angsana new
-เขียนวันที่ตนเองได้ ขนาด 24 Angsana new (1.5x1.5นิ้ว)
-ตัดกระดาษแข็งตามสีวันของตนเอง ขนาด 2X4 นิ้ว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 (17/01/55)

วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 (10/01/55)

วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (03/01/55)

วันนี้เป็นวันหยุดชดเชยปีใหม่ จึงไม่มีการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (27/12/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้บรรยากาศที่ห้องออกจะหนาวนิดหน่อย เพื่อนๆทุกคนดูแจ่มใสเพราะใกล้ถึงปีใหม่แล้ว อาจารย์เริ่มต้นการสอนโดยการอธิบายการเขียนบล็อก อาจารย์เปิดดูความคืบหน้าของบล็อกแต่ละคน อาจารย์บอกว่าการบันทึกอนุทินนักศึกษาไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม หรือหาเพิ่มเติมก็ได้ แต่ให้เขียนในสิ่งที่เรียนในห้องมาให้ละเอียด และควรเพิ่มสิ่งแปลกใหม่ให้กับบล็อกตนเอง ให้มีความน่าสนใจ อาจารย์ได้ยิบยกข้อดีและข้อบกพร่องของแต่ละบุคคล เพื่อนำให้ไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องการสอน
การสอนเราต้องคำนึงถึงความแตกต่างและสิทธิเด็ก แต่ในประเทศไทยสิทธิเด็กมีน้อย เพราะจะยึดว่าพ่อแม่เป็นผู้อาบน้ำร้อนมาก่อน เด็กต้องฟังพ่อแม่ทุกอย่าง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
เทคนิคการสอน
เวลายืนสอนอย่ามองแค่กลุ่มเดียวเราต้องให้ความสนใจแก่เด็กทุกคน เวลายืนสอนให้ถ่อยห่างจากด้านหน้าให้พอเหมาะ เพื่อที่เราจะได้มองเด็กให้ทั่วห้อง
หลังจากตรวจบล็อกเสร็จอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มเดิมตามที่ได้เขียนหน่วยการเรียนรู้ อาจารย์ได้อธิบายงานที่ส่งไปที่ละกลุ่ม บอกถึงข้อดีและข้อบกพร่องของแต่ละกลุ่มและอาจารย์ย้ำเสมอว่าเราต้องบูรนาการให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระอื่นๆด้วย งานของกลุ่มดิฉันที่ส่งไปนั้นอาจารย์ให้นำไปปรับปรุงแก้ไข กลุ่มของดิฉันทำมา 3 วัน เนื่องจากตอนแรกอาจารย์ให้เขียนแค่ 3 วัน เพราะมีสาคนอาจารย์จึงได้ให้ไปทำมาให้ครบ 1 สัปดาห์ คือ 5 วัน และทำตารางผู้รับผิดชอบของแต่ละวันมาอีก 1 แผ่น ดิฉันได้รับผิดชอบวันพุธ คือ ประโยชน์ของผักบุ้ง ที่ดิฉันคิดมามี 3 ด้านหลักๆได้แก่ เป็นอาหารของคนและสัตว์ เป็นอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยขับพิษ แก้พิษเบื่อเมา มีวิตามินต่างๆ และอาจารย์ได้ให้งานเพิ่ม โดยให้คิดกิจกรรมมา 1 กิจกรรม ในวันที่ตนเองรับผิดชอบ กิจกรรมที่จัดขึ้น เด็กจะต้องได้รับทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป
**** งานที่ต้องส่งสัปดาห์หน้า
-คิดกิจกรรมมา 1 กิจกรรม ในวันที่ตนเองรับผิดชอบ กิจกรรมที่จัดขึ้น เด็กจะต้องได้รับทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 (20/12/2554)

ความหมายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็นแนวทางของประสบการณ์และความเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับโลกเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องจำนวน หน้าที่ และความสัมพันธ์ของสิ่งของเมื่อเด็กโตและมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็จะเปลี่ยนแปลงไป

ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การเสริมแรงมี 2 แบบ คือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น

นักการศึกษา
บิดาของการอนุบาลศึกษา เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล (Friendrich Wilhelm Frobel) นักการศึกษาชาวเยอรมัน เป็น ผู้ได้รับการขนานนามว่า “ บิดาของการอนุบาลศึกษา” เป็นผู้ริเริ่มจัดการศึกษาอนุบาลศึกษาอย่างมี รูปแบบ มีการวางแผนการสอน มีการฝึกหัดครู และผลิตสื่อการสอน เรียกว่า ชุดอุปกรณ์(Gifts) และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล ( Occupations) เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน กระบวนการเรียนการสอนของเฟรอเบล เน้นการเล่นอย่างมีความหมาย ครูต้องมีแผนการจัดประสบการณ์ มีอุปกรณ์ และการกิจกรรมที่ เหมาะสม มีการกระตุ้นเร้าความสนใจของเด็ก การสอนที่สำคัญของครูปฐมวัยคือ ต้องมีแผนการสอน สอนระเบียบเมื่อเด็กเล่นเสร็จ บรรยากาศในการเรียนเน้นความเป็นธรรมชาติ โรงเรียนต้อง สวยงาม ผู้ปกครองได้รับการฝึกอบรมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างถูกต้อง

การเรียงลำดับความสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. การรู้จักตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้
เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ

2. รูปร่างรูป เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและ
เนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ

3. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการ
นับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น

4. การ ชั่ง ตวง วัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน

5. การเพิ่มและลดจำนววน
6. รู้จักสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
7. จำแนกประเภทเป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ
สิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

8. หมวดหมู่
9. เปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

10. เรียงลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น
จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว

11. เวลา/พื้นที่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (13/12/2554)