วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (11/03/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนนะค่ะ สำหรับในวันนี้อากาศดีคะ เพราะฝนพึ่งหยุดตก เป็นวันที่อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตาราง เวลา 09.00 - 12.00 น.และวันนี้ดิฉันนั่งสอบสอนกับเพื่อนจนถึงเวลา 17.40 น. วันนี้ดิฉันมาสายเล็กน้อย อาจารย์ก็ให้เพื่อนๆในห้องตกลงกันเอาเองว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อน - หลัง จากนั้นเมื่อพร้อมอาจารย์จึงเริ่มสอบสอนแต่ละกลุ่มและสอนทุกคน ดิฉนสอนหน่วย ผักบุ้งตาหนวน
ในวันนี้ส่วนใหญ่ ขั้นนำ ของเพื่อนๆจะเป็นคำคล้องจอง อาจารย์ชี้แจงข้อบกพร่องดังนี้
1. เพื่อนๆเขียนด้วยลายมือที่ไม่บรรจง อาจารย์จึงให้เขียนให้ตัวบรรจง
2. เพื่อนบางคนเขียนไม่แยกคำ อาจารย์ให้แยกคำ
3. เพื่อนบางคนไม่มีรูปภาพ ให้คำคล้องจ้อง ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด

ขั้นสอน ส่วนใหญ่เพื่อนๆจะเขียนให้เด็กดู อาจารย์จึงแนะนำดังนี้
1. ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้

ขั้นสรุป ส่วนใหญ่เพื่อนๆก็จะเขียนเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์ก็ได้แนะนำเหมือนขั้นสอน

ส่วนของดิฉัน ขั้นนำ ดีแล้ว แต่ขั้นสอนของดิฉัน อาจารย์ได้แนะนำว่า เราไม่ต้องปลูกผักให้เด็กดูในวันนี้เลยก็ได้ เพราะประเด็นหลักคือประโยชย์ของผักบุ้ง แต่ดิฉันอธิบายประโยชน์ของผักบุ้งน้อยเกินไป อาจารย์ให้คำแนะนำในการถามมีดังนี้ ( มีภาพอาชีพ ,ภาพคนสายตาดีและสวย มาให้เด็กดูพร้อมอธิบายภาพและประโยชน์ของผักบุ้ง
1. เด็กรู้ไหมคะว่าผักบ้งมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร (เด็กตอบมา) เราเสริม เช่น ผักบุ้งเมื่อรับประทานไปแล้วจะเป็นกากอาหารช่วยในระบบขับถ่าย
2. เด็กรู้ไหมคะว่าเราทำอย่างไรถึงจะสายตาดีและสวย (เด็กตอบ) เราเสริม เช่น เราต้องรับประทานผักบุ้ง เพราะในผักบุ้งมีวิตามิน
3. เด็กๆทราบไหมคะ ว่าในผักบุ้งมีวิตามินอะไร (เด็กตอบ) เราเสริม ในผักบุ้งมีวิตามิน A ช่วยบำรุ้งสายตา
และเราก็ถามในแบบคล้ายกันเกี่ยวกับอาชีพที่นำผักบุ้งมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างรายได้ และเราควรนำผักบุ้งจริงๆมาให้เด็กๆดูด้วย
ขั้นสรุป อาจารย์ให้ใช้คำถาม ถามทบทวนเนื้อหา และนับภาพที่ติดเป็น map และนำเขียนเลขให้เด็กดู


เทคนิคที่ได้จากการสอนครั้งนี้
1. เขียนให้ตัวบรรจง
2. ให้แยกคำให้ชัดเจน
3. ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด
4. ไม่ควรเขียน ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้
5. ใช้คำถามเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิม
6. การวางของ ควรวางจากซ้ายมือเด็กไป ขวามือเด็ก
7. การนับให้นับตามเข็มนาฬิกา และนับจากซ้ายไปขวามือของเด็ก

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (6/03/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน ในวันนี้อากาศร้อนนิดหน่อย ในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอนในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น. อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนว่าตรงตามมาตรฐานหรือเปล่า
2. การสอน
- การบูรนาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
อาจารย์ได้ตรวจการเขียนคำคล้องจองของเพื่อนเป็นบางคน และให้คำแนะนำ ของดิฉันดีอยู่แล้ว แต่มีข้อบกพร่องนิดหน่อยคือ ต้องเขียนแยกเป็นคำๆเพื่อให้เด็กๆเห็นว่า คำไหนอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ดิฉันยกตัวอย่างของดิฉัน เช่น
เต่าน้อย นั้น ถือ ถุง มา กระต่าย ถาม ว่า นั่น ถุง อะไร
ถุงผัก ฉัน เอา มา ขาย มี ผัก มากมาย น่าลิ้ม น่าลอง เป็นต้น
อาจารย์ได้บอกเทคนิคการสอนว่า ในวันที่เราได้ออกไปสอนเด็กจริงๆ เด็กจะรอดูว่าคุณครูของเขาจะมีอะไรมาสอน เช่นทุกๆวันครูร้องเพลง แล้วให้เด็กจับหัว แต่วันนี้ครูร้องแล้วให้เด็กจับ ขา แขน เด็กๆก็จะตื่นตัวและรอดูว่าครูจะให้จับอะไรอีก และเราก็สามารถเก็บเด็กอยู่ ก่อนหมดชั่วโมงอาจารย์นำแผนการสอนของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นแผนการสอนแบบโปรเจ็ท อาจารย์บอกว่าคณิตศาสตร์คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวๆและเป็นสากล (ไม่ว่าประเทศไหนๆก็บวก ลบ คคูณ หาร ด้วยวิธีเดียวกัน) และเราควรตั้งคำถามถามเด็กเพื่อทำให้เรารู้ว่าเราจะสอนอะไรทำให้เรารู้ถึงประเด็นที่เราจะสอน และการที่เราถามเด็กไปนั้นจะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์สำคัญ และในวันนี้อาจารย์ได้ปล่อยเร็วเนื่องจากมีเพื่อนรถล้มก่อนมาเรียน และอาจารย์เป็นห่วงจึงปล่อยเร็วก่อนครึ่งชั่วโมง เพื่อให้เพื่อนกลับบ้านและจะได้มีเพื่อนๆเดินไปเป็นเพื่อน


**** สอบสอนในวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.