วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (27/12/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้บรรยากาศที่ห้องออกจะหนาวนิดหน่อย เพื่อนๆทุกคนดูแจ่มใสเพราะใกล้ถึงปีใหม่แล้ว อาจารย์เริ่มต้นการสอนโดยการอธิบายการเขียนบล็อก อาจารย์เปิดดูความคืบหน้าของบล็อกแต่ละคน อาจารย์บอกว่าการบันทึกอนุทินนักศึกษาไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม หรือหาเพิ่มเติมก็ได้ แต่ให้เขียนในสิ่งที่เรียนในห้องมาให้ละเอียด และควรเพิ่มสิ่งแปลกใหม่ให้กับบล็อกตนเอง ให้มีความน่าสนใจ อาจารย์ได้ยิบยกข้อดีและข้อบกพร่องของแต่ละบุคคล เพื่อนำให้ไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องการสอน
การสอนเราต้องคำนึงถึงความแตกต่างและสิทธิเด็ก แต่ในประเทศไทยสิทธิเด็กมีน้อย เพราะจะยึดว่าพ่อแม่เป็นผู้อาบน้ำร้อนมาก่อน เด็กต้องฟังพ่อแม่ทุกอย่าง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
เทคนิคการสอน
เวลายืนสอนอย่ามองแค่กลุ่มเดียวเราต้องให้ความสนใจแก่เด็กทุกคน เวลายืนสอนให้ถ่อยห่างจากด้านหน้าให้พอเหมาะ เพื่อที่เราจะได้มองเด็กให้ทั่วห้อง
หลังจากตรวจบล็อกเสร็จอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มเดิมตามที่ได้เขียนหน่วยการเรียนรู้ อาจารย์ได้อธิบายงานที่ส่งไปที่ละกลุ่ม บอกถึงข้อดีและข้อบกพร่องของแต่ละกลุ่มและอาจารย์ย้ำเสมอว่าเราต้องบูรนาการให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระอื่นๆด้วย งานของกลุ่มดิฉันที่ส่งไปนั้นอาจารย์ให้นำไปปรับปรุงแก้ไข กลุ่มของดิฉันทำมา 3 วัน เนื่องจากตอนแรกอาจารย์ให้เขียนแค่ 3 วัน เพราะมีสาคนอาจารย์จึงได้ให้ไปทำมาให้ครบ 1 สัปดาห์ คือ 5 วัน และทำตารางผู้รับผิดชอบของแต่ละวันมาอีก 1 แผ่น ดิฉันได้รับผิดชอบวันพุธ คือ ประโยชน์ของผักบุ้ง ที่ดิฉันคิดมามี 3 ด้านหลักๆได้แก่ เป็นอาหารของคนและสัตว์ เป็นอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยขับพิษ แก้พิษเบื่อเมา มีวิตามินต่างๆ และอาจารย์ได้ให้งานเพิ่ม โดยให้คิดกิจกรรมมา 1 กิจกรรม ในวันที่ตนเองรับผิดชอบ กิจกรรมที่จัดขึ้น เด็กจะต้องได้รับทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป
**** งานที่ต้องส่งสัปดาห์หน้า
-คิดกิจกรรมมา 1 กิจกรรม ในวันที่ตนเองรับผิดชอบ กิจกรรมที่จัดขึ้น เด็กจะต้องได้รับทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 (20/12/2554)

ความหมายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็นแนวทางของประสบการณ์และความเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับโลกเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องจำนวน หน้าที่ และความสัมพันธ์ของสิ่งของเมื่อเด็กโตและมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็จะเปลี่ยนแปลงไป

ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การเสริมแรงมี 2 แบบ คือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น

นักการศึกษา
บิดาของการอนุบาลศึกษา เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล (Friendrich Wilhelm Frobel) นักการศึกษาชาวเยอรมัน เป็น ผู้ได้รับการขนานนามว่า “ บิดาของการอนุบาลศึกษา” เป็นผู้ริเริ่มจัดการศึกษาอนุบาลศึกษาอย่างมี รูปแบบ มีการวางแผนการสอน มีการฝึกหัดครู และผลิตสื่อการสอน เรียกว่า ชุดอุปกรณ์(Gifts) และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล ( Occupations) เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน กระบวนการเรียนการสอนของเฟรอเบล เน้นการเล่นอย่างมีความหมาย ครูต้องมีแผนการจัดประสบการณ์ มีอุปกรณ์ และการกิจกรรมที่ เหมาะสม มีการกระตุ้นเร้าความสนใจของเด็ก การสอนที่สำคัญของครูปฐมวัยคือ ต้องมีแผนการสอน สอนระเบียบเมื่อเด็กเล่นเสร็จ บรรยากาศในการเรียนเน้นความเป็นธรรมชาติ โรงเรียนต้อง สวยงาม ผู้ปกครองได้รับการฝึกอบรมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างถูกต้อง

การเรียงลำดับความสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. การรู้จักตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้
เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ

2. รูปร่างรูป เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและ
เนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ

3. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการ
นับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น

4. การ ชั่ง ตวง วัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน

5. การเพิ่มและลดจำนววน
6. รู้จักสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
7. จำแนกประเภทเป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ
สิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

8. หมวดหมู่
9. เปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

10. เรียงลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น
จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว

11. เวลา/พื้นที่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (13/12/2554)