วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (28/02/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้อากาศร้อนและอาจารย์ให้พนักงานซ่อมโปรเจ๊กเตอร์ ไม่ค่อยสะดวกเท่าไรแต่อาจารย์ก็สอนด้วยความเต็มใจถึงเมื่อว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ค่อยเป็นใจ อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาท,เวลา
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 กลุ่ม เช่น เปรียบจำนวนของสิ่งของ
เรขาคณิต ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทาง เช่น ข้างๆ ริมๆ
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
การจับคู่ คำว่าคู่เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
การจำแนก การจัดหมวดหมู่ ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่นงานประดิษฐ์ ต้องเป็นโครงสร้าง 3 ส่วน
พีชคณิต คือ รูปแบบและความสัมพันธ์(ความสัมพันธ์ คือ จุดตัด เช่นความสัมพันธ์ 2 แกน)
ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม (มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1) แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2) แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3) แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น
จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน
การตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย


***** อาจารย์นัดในวันศุกร์ เวลา 13.00 น. เพื่อดูแผนให้สอดคล้องกับมาตรฐาน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (21/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ วันนี้อากาศที่ห้องหนาวมากดิฉันจึงไม่กล้าถอดเสื้อกันหนาวเลย ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มตามหน่วยที่เขียนแผน และมีเพื่อนอีก 2 กลุ่มที่ต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์ และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆเป็นรายกลุ่มและเป็นรายบุคคล จึงใช้เวลานานในการอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือเขียนสื่อที่จะต้องใช้ในการสอน กลุ่มของดิฉันมีสื่อดังนี้
1) กระดาษชาร์ต 3 แผ่น
2) กระถางปลูกผักบุ้ง
3) เมล็ดผักบุ้ง

ท้ายคาบอาจารย์ตรวจสื่อที่ต้องใช้และสิ่งไหนที่เราสามารถนำมาเองได้อาจารย์ก็ให้เราเอามาและบางสิ่งอาจารย์จะนำมาให้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (14/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนวันนี้อากาศเย็นสบายแต่ก็มีร้อนนิดๆ วันนี้อาจารย์อบรมเรื่องเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีเพราะมีคนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม และให้แก้ไขบล็อกให้เสร็จทุกคน จากนั้นอาจารย์ตรวจแผนของแต่ละกลุม่แต่ทั้งห้องก็มีข้อบกพร่อง เพราะแต่ละกลุ่มทำแต่ของตนเองไม่สนใจเพื่อนในกลุ่มจึงทำให้แผนไม่ค่อยสอดคล้องกัน อาจารย์จึงย้อนถามถึง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อหลักอยู่ 3 ข้อ คือ ประสบการณ์, คณิตศาสตร์,เด็กปฐมวัย เราต้องแยกย่อยออกมาให้เห็นรายละเอียดแล้วเราค่อยมาสรุปรวมอีกครั้ง และอาจารย์อธิบายการทำแผนใหม่ คือ
1.แผนที่เขียนแผ่นเก่า 1 แผ่น
2. แผนใหม่ที่ปรับปรุงและเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามความเข้าใจ 1 แผน
3.. ต้องมีการแตกหน่วยทั้งที่ปรับปรุงและแผนเดิม(ถ้ากลุ่มไหนนำไปปรับปรุง)
เมื่ออธิบายเสร็จอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มตามหน่วยที่เราเขียนแผนและอาจารย์ดูแผนตามกลุ่มและอธิบายรายบุคคล และชี้แนะต่างๆอาจารย์จะเน้นให้เขียนเป็น map ก่อนเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายการที่เราเขียน map เพื่อให้เห็นเนื้อเรื่องที่เราจะสอน เวลาเราจะเอาเนื้อหาไปสอนต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการ เราจึงเลือกนิทาน,เพลง,คำคล้องจองเพื่อให้สอดคล้องและเพื่อให้เด็กได้ตามพัฒนาการทั้ง4 ด้าน โดยผ่านกิกรรม
อาจารย์บอกกับเราว่าขณะเขียนเราเขียนแบบแห้งๆเพราะเรายังไม่มีประสบการณ์แต่เราจะได้หลักการในการเขียน และนำไปเรื่อยๆเราจะเกิดความชำนาญในการเขียนและเกิดการพัฒนาในตนเอง
หัวใจหลักของเสริมประสบการณ์ คือ เรื่องของสติปัญญาเป็นเนื้อหาในการเรียนรู้และมีสาระที่เสริมประสบการณ์อาจารย์อธิบายการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม อาจารย์ยกตัวอย่างของเพื่อนๆเรื่อง หน่วยฝน
1.วัตถุประสงค์
-เพื่อให้เด็กอธิบายการเกิดฝน
2. ประสบการณ์สำคัญ
-เด็กอธิบายการเกิดฝน
3. ขั้นนำ
-นำด้วยเพลง,คำคล้องจอง,นิทาน
4. ขั้นสอน
-ครูสนทนากับเด็กเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาให้ราบรื่น(ถ้าเป็นหรือคำคล้องจองให้พูดให้เด็กฟังอย่างชัดเจนก่อน แล้วให้เด็กพูดตาม แล้วเราค่อยใส่ทำนอง
- ถามเด็กๆว่าเด็กๆค่ะฝนเกิดจากไหนค่ะ
- นำภาพมาให้เด็กดู
5. ขั้นสรุป
-นำภาพมาให้เด็กเรียงลำดับการเกิดฝน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (7/02/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกๆคน วันนี้อากาศที่ห้องเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ถามถึงวันกีฬาสีในวันพรุ่งนี้ นักศึกษาและอาจารย์ปรึกษากันเรื่อง อาหารว่านักศึกต้องการอาหารในลักษณะไหน เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม่ ขั้นนำของอรอุมาเขียนแค่ว่าคำคล้องจ้องอาจารย์ให้หาเนื้อหาคำคล้องจองมาให้อาจารย์ดูด้วยแต่ถ้าหาไม่ได้ เราสามารถแต่งเองก็ได้ และคำคล้องจองต้องมีภาพให้เด็กดูจะเป็นผลดี เด็กจะได้ประสบการณ์จากการอ่าน คือ เด็กได้อ่านภาพ ภาพนั้นมีความหมายและแปลเป็นภาษาและของอรอุมาไม่จำเป็นต้องให้เด็กจำแนกสีก็ได้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ เช่น ทำงานศิลปะโดยใช้รูปร่างรูปทรง,ขนาด,การนับ อาจารย์ถามถึงมาตรฐานคณิตศาสตร์ว่ามีกี่ข่อมาตรฐานคณิตศาสตร์มี 6
การวัดต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือเด็กเป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่นใช้ร่างกายคือ มือ ชอก เป็นเครื่องมือแบบไม่เป็นทางกลาง และทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น คือ ตัดรูปมือให้มีขนาดเท่ากัน และจากนั้นก็ให้เด็กหัดใช้ไม้บรรทัดในการวัด
การตวง เครื่องแบบไม่เป็นทางการคือ มือ ถัดไปคือ ตาชั่ง 2 แขน และต่อไปคือตาชั่งกิโล
การวัดปริมาณ เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการคือหาพาชนะมาใช้ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดไปคือบิ๊กเกอร์
การวัดเวลา เครื่องมือไม่เป็นทางการคือ ดูพระอาทิตย์ ถัดไปดูเงา ถัดไปดู นาฬิกา
คณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้คือ
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ และเป็นทักษะการฟัง
2. ผู้นำผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่อง
4. ฟังและปฏิบัติตาม
5. ฝึกทักษะความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
อาจารย์พยายามจะบอกว่าเราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆได้มากมาย เราสามารถเอากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาเป็นขั้นนำสามารถเชื่องโยงคณิตศาสตร์ได้ เช่น ให้นับการกระโดดว่า กระโดดกี่ครั้ง หรือศิลปะ การร้อยเด็กได้นับจำนวน

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (31/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้บรรยากาศที่ห้องหนาวนิดหน่อย เพื่อนเลยขออาจารย์ปิดแอร์ วันนี้อาจารย์ได้อบรมการส่งงาน เพราะมีนักศึกษาทำมาไม่ครบและได้จดชื่อเอาไว้ อาจารย์ได้ถามว่า ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถาม ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจารย์ได้ขึ้นข้อความว่า ตัวเด็ก และได้ถามว่าเห็นบนกระดานแล้วนึกถึงอะไร นักศึกษาตอบมามากมายโดยไม่มีข้อผิด เพราะคำถามที่อาจารย์ใช้เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อเด็กจะได้คิดต่อได้ เช่น ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร ,เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง,เห็นเมื่อไร พอพูดถึงเมื่อไรมันเกี่ยวเนื่องกับคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องของเวลา และเพื่อฝึกให้เด็กคิด กล้าคิด กล้าตอบเพราะคำตอบที่ตอบมาไม่มีผิด และอาจารย์ได้ถามต่ออีกว่า ทำไม่จึงเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว
หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญา
ความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือเป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พิชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
- อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
เรื่อง การเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
-อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า
เรื่อง การเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
- อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (24/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้เป็นวันแรกของปีที่เราได้เจอกันในวิชานี้ วันนี้อาจารย์ติดธุระจึงเข้าห้องช้า อาจารย์เข้ามาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และได้ถามถึง จากการที่เราไปสังเกตเด็กในแต่ละโรงเรียนว่ามีปัญหาอะไรหาเปล่า แต่ละโรงเรียนก็ได้เล่าให้อาจารย์ฟังอย่างสนุกสนาน บางคนก็มีปัญหา อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์พูดถึงพัฒนาการของ ไวกอสกี่ และได้บอกว่านักศึกษาไม่ค่อยแน่นในวิชาการ อาจารย์จึงเน้นการสอนที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการใช้ชีวิต และอาจารย์บอกว่าในวันที่เราไปสังเกตเด็กเราควรเก็บตักตวงความรู้ให้มากที่สุด มีน้ำใจต่อครูพี่เลี้ยงและทุกๆคนในโรงเรียน และอาจารย์ให้มองหาปัญหาในโรงเรียนที่เราไปสังเกต เพื่อต่อยอดทำโครงการตอนเราไปฝึกสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างเด็กไม่ชอบกินผัก
1)ปัญหาที่เราพบเจอ
ส่วนมากเด็กไม่ชอบกินผักเพราะ ผักมีรสชาติขม มีกลิ่น เหม็นฉุน ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผักและไม่อยากที่จะกินผัก
2)เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
เราต้องใช้นิทานหรือเพลงเพื่อทำให้เห็นถึงประโยชน์ของผัก
3)ทำกิจกรรม
- สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
- ปลูกผักช่วยกัน
- นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
4) ย้ำเตือนให้เด็กรู้ว่าผักมีประโยชน์
- แสดงละครเกี่ยวกับ นิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
เมื่อคิดโครงการเสร็จแล้วนำไปลองใช้กับเด็ก และดูว่าก่อนทำโครงการ เด็กมีคนกินผักกี่คน และหลังจากนำโครงการไปใช้แล้วเด็กที่ไม่ชอบกินผักมีจำนวนลดลงกี่คน จากการที่เราทำโครงการระยะยาวแล้ว สามารถนำไปทำวิจัยในชั้นเรียนได้
จากที่เราไปสังเกตโรงเรียนนั้นมีสื่ออะไรที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง ห้องเรียนของดิฉันมีดังนี้
1) แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์
2) โปสเตอร์ เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก 1- 100
3) สถิติการมาเรียน
จากนั้นอาจารย์เชื่อมดยงเข้ามายังหน่วยที่ได้เขียนไป อาจารย์ให้ไปเขียนแผนการสอนมาเพิ่มเติมตามวันที่ตนเองได้รับผิดชอบมาคนละ 1 แผน และให้เตรียมสื่ออุปกรณ์มาให้เรียบร้อย ส่วนขั้นนำไม่ควรเป็นการสนทนาสักถามเราควรหา เพลง นิทาน คำคล้องจอง เพื่อให้มาความน่าสนใจ เราสามารถเปลี่ยนหน่วยหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
**** งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-เขียนชื่อจริง(ชื่อเล่น) ขนาด 38 Angsana new
-เขียนเลขที่ของตนเอง ขนาด 38 Angsana new
-เขียนวันที่ตนเองได้ ขนาด 24 Angsana new (1.5x1.5นิ้ว)
-ตัดกระดาษแข็งตามสีวันของตนเอง ขนาด 2X4 นิ้ว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 (17/01/55)

วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 (10/01/55)

วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (03/01/55)

วันนี้เป็นวันหยุดชดเชยปีใหม่ จึงไม่มีการเรียนการสอน