วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (11/03/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนนะค่ะ สำหรับในวันนี้อากาศดีคะ เพราะฝนพึ่งหยุดตก เป็นวันที่อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตาราง เวลา 09.00 - 12.00 น.และวันนี้ดิฉันนั่งสอบสอนกับเพื่อนจนถึงเวลา 17.40 น. วันนี้ดิฉันมาสายเล็กน้อย อาจารย์ก็ให้เพื่อนๆในห้องตกลงกันเอาเองว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อน - หลัง จากนั้นเมื่อพร้อมอาจารย์จึงเริ่มสอบสอนแต่ละกลุ่มและสอนทุกคน ดิฉนสอนหน่วย ผักบุ้งตาหนวน
ในวันนี้ส่วนใหญ่ ขั้นนำ ของเพื่อนๆจะเป็นคำคล้องจอง อาจารย์ชี้แจงข้อบกพร่องดังนี้
1. เพื่อนๆเขียนด้วยลายมือที่ไม่บรรจง อาจารย์จึงให้เขียนให้ตัวบรรจง
2. เพื่อนบางคนเขียนไม่แยกคำ อาจารย์ให้แยกคำ
3. เพื่อนบางคนไม่มีรูปภาพ ให้คำคล้องจ้อง ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด

ขั้นสอน ส่วนใหญ่เพื่อนๆจะเขียนให้เด็กดู อาจารย์จึงแนะนำดังนี้
1. ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้

ขั้นสรุป ส่วนใหญ่เพื่อนๆก็จะเขียนเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์ก็ได้แนะนำเหมือนขั้นสอน

ส่วนของดิฉัน ขั้นนำ ดีแล้ว แต่ขั้นสอนของดิฉัน อาจารย์ได้แนะนำว่า เราไม่ต้องปลูกผักให้เด็กดูในวันนี้เลยก็ได้ เพราะประเด็นหลักคือประโยชย์ของผักบุ้ง แต่ดิฉันอธิบายประโยชน์ของผักบุ้งน้อยเกินไป อาจารย์ให้คำแนะนำในการถามมีดังนี้ ( มีภาพอาชีพ ,ภาพคนสายตาดีและสวย มาให้เด็กดูพร้อมอธิบายภาพและประโยชน์ของผักบุ้ง
1. เด็กรู้ไหมคะว่าผักบ้งมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร (เด็กตอบมา) เราเสริม เช่น ผักบุ้งเมื่อรับประทานไปแล้วจะเป็นกากอาหารช่วยในระบบขับถ่าย
2. เด็กรู้ไหมคะว่าเราทำอย่างไรถึงจะสายตาดีและสวย (เด็กตอบ) เราเสริม เช่น เราต้องรับประทานผักบุ้ง เพราะในผักบุ้งมีวิตามิน
3. เด็กๆทราบไหมคะ ว่าในผักบุ้งมีวิตามินอะไร (เด็กตอบ) เราเสริม ในผักบุ้งมีวิตามิน A ช่วยบำรุ้งสายตา
และเราก็ถามในแบบคล้ายกันเกี่ยวกับอาชีพที่นำผักบุ้งมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างรายได้ และเราควรนำผักบุ้งจริงๆมาให้เด็กๆดูด้วย
ขั้นสรุป อาจารย์ให้ใช้คำถาม ถามทบทวนเนื้อหา และนับภาพที่ติดเป็น map และนำเขียนเลขให้เด็กดู


เทคนิคที่ได้จากการสอนครั้งนี้
1. เขียนให้ตัวบรรจง
2. ให้แยกคำให้ชัดเจน
3. ควรหาภาพที่สามารถแทนคำได้มาติด
4. ไม่ควรเขียน ควรหารูปหรือวิธีอื่นที่สามารถทำได้ เพราะการเขียนสามารถทำได้แต่เท่ากับเราหันหลังให้เด็ก จะทำให้เด็กนั้นไม่สนใจและเราจะเก็บเด็กไม่ได้
5. ใช้คำถามเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิม
6. การวางของ ควรวางจากซ้ายมือเด็กไป ขวามือเด็ก
7. การนับให้นับตามเข็มนาฬิกา และนับจากซ้ายไปขวามือของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น