วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (31/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้บรรยากาศที่ห้องหนาวนิดหน่อย เพื่อนเลยขออาจารย์ปิดแอร์ วันนี้อาจารย์ได้อบรมการส่งงาน เพราะมีนักศึกษาทำมาไม่ครบและได้จดชื่อเอาไว้ อาจารย์ได้ถามว่า ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถาม ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจารย์ได้ขึ้นข้อความว่า ตัวเด็ก และได้ถามว่าเห็นบนกระดานแล้วนึกถึงอะไร นักศึกษาตอบมามากมายโดยไม่มีข้อผิด เพราะคำถามที่อาจารย์ใช้เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อเด็กจะได้คิดต่อได้ เช่น ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร ,เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง,เห็นเมื่อไร พอพูดถึงเมื่อไรมันเกี่ยวเนื่องกับคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องของเวลา และเพื่อฝึกให้เด็กคิด กล้าคิด กล้าตอบเพราะคำตอบที่ตอบมาไม่มีผิด และอาจารย์ได้ถามต่ออีกว่า ทำไม่จึงเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว
หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญา
ความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือเป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พิชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
- อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
เรื่อง การเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
-อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า
เรื่อง การเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
- อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น