วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (7/02/2555)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกๆคน วันนี้อากาศที่ห้องเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ถามถึงวันกีฬาสีในวันพรุ่งนี้ นักศึกษาและอาจารย์ปรึกษากันเรื่อง อาหารว่านักศึกต้องการอาหารในลักษณะไหน เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม่ ขั้นนำของอรอุมาเขียนแค่ว่าคำคล้องจ้องอาจารย์ให้หาเนื้อหาคำคล้องจองมาให้อาจารย์ดูด้วยแต่ถ้าหาไม่ได้ เราสามารถแต่งเองก็ได้ และคำคล้องจองต้องมีภาพให้เด็กดูจะเป็นผลดี เด็กจะได้ประสบการณ์จากการอ่าน คือ เด็กได้อ่านภาพ ภาพนั้นมีความหมายและแปลเป็นภาษาและของอรอุมาไม่จำเป็นต้องให้เด็กจำแนกสีก็ได้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ เช่น ทำงานศิลปะโดยใช้รูปร่างรูปทรง,ขนาด,การนับ อาจารย์ถามถึงมาตรฐานคณิตศาสตร์ว่ามีกี่ข่อมาตรฐานคณิตศาสตร์มี 6
การวัดต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือเด็กเป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่นใช้ร่างกายคือ มือ ชอก เป็นเครื่องมือแบบไม่เป็นทางกลาง และทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น คือ ตัดรูปมือให้มีขนาดเท่ากัน และจากนั้นก็ให้เด็กหัดใช้ไม้บรรทัดในการวัด
การตวง เครื่องแบบไม่เป็นทางการคือ มือ ถัดไปคือ ตาชั่ง 2 แขน และต่อไปคือตาชั่งกิโล
การวัดปริมาณ เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการคือหาพาชนะมาใช้ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดไปคือบิ๊กเกอร์
การวัดเวลา เครื่องมือไม่เป็นทางการคือ ดูพระอาทิตย์ ถัดไปดูเงา ถัดไปดู นาฬิกา
คณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้คือ
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ และเป็นทักษะการฟัง
2. ผู้นำผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่อง
4. ฟังและปฏิบัติตาม
5. ฝึกทักษะความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
อาจารย์พยายามจะบอกว่าเราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆได้มากมาย เราสามารถเอากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาเป็นขั้นนำสามารถเชื่องโยงคณิตศาสตร์ได้ เช่น ให้นับการกระโดดว่า กระโดดกี่ครั้ง หรือศิลปะ การร้อยเด็กได้นับจำนวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น