วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (24/01/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้เป็นวันแรกของปีที่เราได้เจอกันในวิชานี้ วันนี้อาจารย์ติดธุระจึงเข้าห้องช้า อาจารย์เข้ามาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และได้ถามถึง จากการที่เราไปสังเกตเด็กในแต่ละโรงเรียนว่ามีปัญหาอะไรหาเปล่า แต่ละโรงเรียนก็ได้เล่าให้อาจารย์ฟังอย่างสนุกสนาน บางคนก็มีปัญหา อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์พูดถึงพัฒนาการของ ไวกอสกี่ และได้บอกว่านักศึกษาไม่ค่อยแน่นในวิชาการ อาจารย์จึงเน้นการสอนที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการใช้ชีวิต และอาจารย์บอกว่าในวันที่เราไปสังเกตเด็กเราควรเก็บตักตวงความรู้ให้มากที่สุด มีน้ำใจต่อครูพี่เลี้ยงและทุกๆคนในโรงเรียน และอาจารย์ให้มองหาปัญหาในโรงเรียนที่เราไปสังเกต เพื่อต่อยอดทำโครงการตอนเราไปฝึกสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างเด็กไม่ชอบกินผัก
1)ปัญหาที่เราพบเจอ
ส่วนมากเด็กไม่ชอบกินผักเพราะ ผักมีรสชาติขม มีกลิ่น เหม็นฉุน ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผักและไม่อยากที่จะกินผัก
2)เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
เราต้องใช้นิทานหรือเพลงเพื่อทำให้เห็นถึงประโยชน์ของผัก
3)ทำกิจกรรม
- สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
- ปลูกผักช่วยกัน
- นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
4) ย้ำเตือนให้เด็กรู้ว่าผักมีประโยชน์
- แสดงละครเกี่ยวกับ นิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
เมื่อคิดโครงการเสร็จแล้วนำไปลองใช้กับเด็ก และดูว่าก่อนทำโครงการ เด็กมีคนกินผักกี่คน และหลังจากนำโครงการไปใช้แล้วเด็กที่ไม่ชอบกินผักมีจำนวนลดลงกี่คน จากการที่เราทำโครงการระยะยาวแล้ว สามารถนำไปทำวิจัยในชั้นเรียนได้
จากที่เราไปสังเกตโรงเรียนนั้นมีสื่ออะไรที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง ห้องเรียนของดิฉันมีดังนี้
1) แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์
2) โปสเตอร์ เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก 1- 100
3) สถิติการมาเรียน
จากนั้นอาจารย์เชื่อมดยงเข้ามายังหน่วยที่ได้เขียนไป อาจารย์ให้ไปเขียนแผนการสอนมาเพิ่มเติมตามวันที่ตนเองได้รับผิดชอบมาคนละ 1 แผน และให้เตรียมสื่ออุปกรณ์มาให้เรียบร้อย ส่วนขั้นนำไม่ควรเป็นการสนทนาสักถามเราควรหา เพลง นิทาน คำคล้องจอง เพื่อให้มาความน่าสนใจ เราสามารถเปลี่ยนหน่วยหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
**** งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-เขียนชื่อจริง(ชื่อเล่น) ขนาด 38 Angsana new
-เขียนเลขที่ของตนเอง ขนาด 38 Angsana new
-เขียนวันที่ตนเองได้ ขนาด 24 Angsana new (1.5x1.5นิ้ว)
-ตัดกระดาษแข็งตามสีวันของตนเอง ขนาด 2X4 นิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น